วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2563

 Covid-19

ต้นกําเนิดของไวรัส 

ต้นตอของไวรัสน่าจะมาจากการที่ ไวรัสจากสัตว์ตัวกลางระบาดมาสู่คน ผู้ป่วยรายแรกเท่าที่ ทราบกัน เริ่มมี
อาการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม และไม่มีความเชื่อมโยงกับตลาดต้องสงสัยในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน แต่ผู้ป่วย หลายรายอาจมีมาตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนหรือก่อนหน้านั้น มีการเก็บตัวอย่างจากสิ่งแวดล้อมในตลาดไปส่งตรวจและพบเช ื้อไวรัส และพบมากที่สุดในบริเวณที่ค้าสัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม ตลาดอาจเป็นต้นกําเนิดของไวรัส หรืออาจมีบทบาทในการขยายวงของ การระบาดในระยะเริ่มแรก

วิธีการป้องกัน
มาตรการทางสาธารณสุข 
-การกักกัน คือ การจํากัดกิจกรรมต่างๆ หรือการแยกผู้ที่ไม่ป่วย แต่อาจมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด19จุดประสงค์คือเพื่อ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในห้วงเวลาที่คนเริ่มมีอาการ 
-การแยกกัก หมายถึง การแยกผู้ป่วยที่ มีอาการของโรคโควิด-19 และอาจแพร่เชื้อได้ จึงทําเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค 
-การเว้นระยะ คือ การอยู่ห่างกันและกัน องค์การอนามัยโลกแนะนําให้ เว้นระยะอย่างน้อย 1 เมตรจากผู้อื่นส่วนนี้ เป็นมาตรการทั่วไปที่ ทุกคนควรทําถึงแม้ว่าจะแข็งแรงดี 
-การติดตามผู้สัมผัสโรค ทําเพื่อระบุหาคนที่ อาจมีประวัติสัมผัสโรค เพื่อที่จะแยกกักออกไปโดยเร็ว

แน้วโน้มในปัจจุบัน
จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) ที่แพร่กระจายไปในทุกทวีปทั่วโลก ซึ่งทำให้มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 1 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 50,000 คนนั้น (ข้อมูล ณ วันที่ 3 เมษายน 2563) ทำให้ระบบการสาธารณสุขในประเทศต่างๆ อาจเกิดสภาวะที่ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยทั้งหมดได้ เพื่อเป็นการ ชะลอการเพิ่มจำนวนของผู้ติดเชื้อที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลของประเทศต่างๆ ได้กำหนดมาตรการที่ หลากหลาย มีการเพิ่มระดับความเข้มข้นของการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ มาตรการจากภาครัฐเหล่านี้ส่งผลให้อุปสงค์ (Demand) ในภาคการบริโภคของอุตสาหกรรมต่างๆ ลดต่ำลงจนถึงขั้นวิกฤตในบางประเทศ 





วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563


วิทยาการข้อมูล (Data science) เป็นสหสาขาวิชาที่ใช้วิธีการ กระบวนการ อัลกอริทึม และระบบทางวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อหาความรู้จากข้อมูลหลากหลายรูปแบบ ทั้งจัดเก็บเป็นระเบียบและไม่เป็นระเบียบ วิทยาการข้อมูลเป็นศาสตร์ที่เป็นการบูรณาการสถิติศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล และการเรียนรู้ของเครื่องเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถเข้าใจและวิเคราะห์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในข้อมูลได้ ใช้เทคนิคและทฤษฎีที่ได้มาจากคณิตศาสตร์ สถิติศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิทยาการสารสนเทศ

วิทยาการข้อมูลเป็นสหสาขาวิชาที่มุ่งเน้นการหาความรู้จากกลุ่มข้อมูลซึ่งส่วนมากมักมีขนาดใหญ่ ครอบคลุมตั้งแต่การเตรียมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ วิเคราะห์ และนำเสนอสิ่งที่ค้นพบให้กับผู้มีอำนาจใจการตัดสินใจในองค์กร จึงต้องใช้ทักษะทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ สถิติศาสตร์ การนำเสนอข้อมูลด้วยภาพ การออกแบบกราฟิก และธุรกิจ


ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=SbY1DhAgyGE

Big Dataเป็นคำศัพท์คำหนึ่งซึ่งอธิบายถึงปริมาณข้อมูลที่มหาศาล ทั้งแบบข้อมูลที่มีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง ซึ่งปะปนอยู่มากมายในการทำธุรกิจในแต่ละวัน หากแต่ไม่ใช่ปริมาณของข้อมูลที่เป็นสิ่งสำคัญก็คือการที่องค์กรจัดการกับข้อมูลต่างหากการวิเคราะห์ Big Dataนำไปสู่ข้อมูลเชิงลึกเพื่อการตัดสินใจที่ดีกว่าและการเคลื่อนไหวในกลยุทธ์ธุรกิจ

ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=Nokn4QKptEg

หลายคนคงตาเบิกโพลงและถามด้วยเสียงสองว่า “บ้าเหรอ? 5G ยังไม่ได้ใช้เลย 6G คืออะไรกัน?”

 

แต่นั้นคือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น เมื่อ 5G กำลังจะถูกทยอยนำมาใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มต้นตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป เหล่าวิศวกรทั้งหลายก็หันมาให้ความสนใจกับขั้นต่อไปของเทคโนโลยีว่าจะออกมาในรูปแบบไหน

คงเป็นเรื่องยากที่จะโต้แย้งว่าเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายได้เปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของมนุษย์ ทั้งการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองและมนุษย์กับโลกทั้งใบ เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่นๆ นี่อาจจะเป็นสิ่งเดียวที่เป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตของยุคสมัยศตวรรษที่ 21

โดยเจ้าเทคโนโลยีล่าสุด 5G (ระบบสื่อสารไร้สายยุคที่ 5) นั้น ทั่วโลกเริ่มมีการทดสอบและลองใช้กันบ้างแล้ว (ในงานกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่เมืองพย็องชัง ประเทศเกาหลีใต้) ซึ่งก็นำมาสู่คำถามที่ว่าหลังจากนี้จะมีอะไรอีก? 6G จะเป็นแบบไหนกัน? แตกต่างกันยังไง? มีอะไรที่สามารถทำเพิ่มขึ้นมาได้บ้างจาก 5G? 

คำตอบอาจจะยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่นัก แต่ก็มีบางอย่างที่พอเป็นเค้าลางให้เห็นว่ามันน่าจะออกมาในรูปแบบไหน เรื่องนี้ต้องขอบคุณผลงานของ Razvan-Andrei Stoica และ Giuseppe Abreu ที่มหาวิทยาลัย Jacobs University Bremen ประเทศเยอรมนี ทั้งสองคนได้นำเอาข้อจำกัดของเทคโนโลยี 5G มาชำแหละและดูว่ามีปัจจัยไหนที่สามารถเป็นตัวขับเคลื่อนให้พัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย และ 6G น่าจะเป็นผู้อยู่เบื้องหลังแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยี AI 

ก่อนอื่นต้องปูทางเกี่ยวกับ 5G สักหน่อย อย่างแรกเลยที่ต้องบอกก็คือว่า 5G นั้นพัฒนามาไกลกว่ามาตรฐานของ 4G ที่เราใช้อยู่ตอนนี้เป็นอย่างมาก อย่างแรกคือเรื่องความเร็ว ซึ่งเร็วกว่า 4G อย่างที่เรียกว่าเทียบกันไม่เห็นฝุ่น โดย 5G จะมีความเร็วประมาณ 20Gbps เทียบกับ 4G แล้วจะเร็วกว่า 100-200 เท่า! (4G อยู่ที่ 10-20 Mbps) ถ้าเปรียบเทียบเป็นภาพยนตร์ HD สักเรื่องบน 4G ถ้าไปอยู่บน 5G ก็จะดูหนังแบบ 8K ได้ประมาณ 400 เรื่องในเวลาเดียวกัน และนั้นอาจจะฟังดูน่าทึ่งแล้วในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่จบเท่านั้น สิ่งที่ทำให้ 5G นั้นน่าสนใจอีกอย่างคือ Low Latency Rate หรือความไวในการตอบสนองของข้อมูล สามารถสั่งงานควบคุมสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว หรือเรียกว่าแทบจะทันที จากตอน 4G เฉลี่ยใช้งานจริงจะอยู่ราว 100-200ms แต่เมื่อเป็น 5G จะลดลงไปถึง 100 เท่า เหลือน้อยกว่า 1ms ทางทฤษฎี





ฟอร์มของ นายธนเพชร เกตุแก้ว

กำลังโหลด…